สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 ธันวาคม 61

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข.เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,215 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,032 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,049 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,068 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,121 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,457 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,119 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,445 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,139 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,126 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 395 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,846 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,832 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.25 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 14 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 404 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,139 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,126 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 13 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.5221 

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          กัมพูชา
          สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการสหภาพยุโรป (The European Commission; EC) ยังหาข้อสรุป
ในเรื่องการเก็บภาษีนำเข้าข้าวของกัมพูชาไม่ได้ ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียในธุรกิจข้าวของกัมพูชายังพอมีเวลา
ที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป เพื่อยับยั้งมาตรการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรของสหภาพยุโรป
          ทั้งนี้ ในการออกเสียงเพื่อลงมติในเรื่องดังกล่าว มีสมาชิกของสหภาพยุโรปจำนวน 15 ประเทศ จาก 28 ประเทศที่ปฏิเสธข้อเสนอหรืองดออกเสียง ขณะที่อีก 13 ประเทศ ลงมติเห็นชอบให้มีการเปิดใช้มาตรการปกป้องอุตสาหกรรมข้าวของยุโรป ซึ่งมีผลต่อการกำหนดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าข้าวจากกัมพูชา และเมียนมาร์
          คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (EC) ด้านการเกษตรและการพัฒนาชนบท (The European Commission (EC)’s Directorate-General of Agriculture and Rural Development) ได้กล่าวว่า การลงมติในลักษณะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการอภิปรายต่อไปในคณะกรรมาธิการ โดยมีสมมติฐานว่าข้อเสนอดังกล่าวอาจจะถูกนำมาใช้ 
ซึ่งคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้รับมอบหมายให้ดำเนินการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายก่อนถึงกำหนดในเดือนมกราคม โดยมีข้อเสนอในการจัดเก็บภาษีเป็นจำนวน 175 ยูโรต่อตัน ในปีแรก และลดลงเหลือ 150 ยูโร ในปีที่สอง และลดเหลือ 125 ยูโร ในปีต่อไป
          อย่างไรก็ตาม นาย Hun Lak รองประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (Cambodia Rice Federation; CRF) แสดงความเห็นว่า ความไม่แน่นอนดังกล่าวส่งผลดีต่อกัมพูชา เพราะจะมีเวลามากขึ้นในการทำความเข้าใจและโน้มน้าว
สหภาพยุโรปให้เห็นไปในแนวทางที่กัมพูชาต้องการ ซึ่งสหพันธ์ข้าวฯ จะทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในการดำเนินการกรณีดังกล่าว
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อินเดีย
          คณะรัฐมนตรีอินเดียได้พิจารณาอนุมัตินโยบายการส่งออกสินค้าเกษตรฉบับใหม่ ที่เสนอโดยกระทรวงพาณิชย์(The Indian Commerce Ministry) แล้ว โดยตั้งเป้าที่จะเพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรเป็น 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในปี 2565 และเพิ่มขึ้นให้ถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีหลังจากนั้นด้วยนโยบายที่มีเสถียรภาพ
          แหล่งข่าวของทางการอินเดียรายงานว่า นโยบายดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ชา และกาแฟ โดยการมุ่งไปที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย การสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงระเบียบข้อบังคับต่างๆ การลดเวลาในการพิจารณา และการส่งเสริมด้านวิจัยและพัฒนา นอกจากนี้ยังมีเป้าหมาย
ในการเพิ่มส่วนแบ่งทางการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
          ทั้งนี้ รัฐบาลจะมุ่งเน้นนโยบายการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีเสถียรภาพ เพื่อให้สามารถรับประกันได้ว่าสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์จะไม่ถูกจำกัดการส่งออกด้วยข้อจำกัดใดๆ เช่น มาตรการกำหนดราคานำเข้าขั้นต่ำ ภาษีส่งออก การห้ามการส่งออก และข้อจำกัดด้านโควตาส่งออก โดยในปัจจุบันสินค้าเกษตรมีสัดส่วนมากกว่า
ร้อยละ 10 ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
          รัฐบาลอินเดียและรัฐบาลอิหร่านได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (a memorandum of understanding;  MoU) เกี่ยวกับการที่ฝ่ายอินเดียจะยอมรับการชำระเงินในรูปของเงินรูปี ซึ่งการลงนามดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ทางการสหรัฐฯ ได้อนุโลมให้อินเดียสามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านได้ในปริมาณที่จำกัดในช่วงเวลาที่มีการลงโทษ (Sanctions) ประเทศอิหร่าน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา
          ทั้งนี้ บริษัทน้ำมันจะรายงานผลการชำระเงินให้แก่ประเทศอิหร่านผ่านทางบัญชีธนาคาร UCO Bank ของบริษัทน้ำมันของอิหร่าน (the National Iranian Oil Co.) โดยเงินจำนวนนี้จะถูกนำไปใช้สำหรับการชำระค่าสินค้าที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศอิหร่านถือเป็นผู้นำเข้าข้าวบาสมาติรายใหญ่ของอินเดีย
          ที่ผ่านมา ประเทศอินเดียทำการค้ากับประเทศอิหร่านโดยใช้สกุลเงินยูโรนับตั้งแต่ปี 2558 และในปัจจุบันประเทศอินเดียอยู่ในภาวะขาดดุลการค้ากับอิหร่านประมาณ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากอินเดียต้องนำเข้าน้ำมันจำนวนมากจากอิหร่าน ขณะที่สินค้าเกษตรของอินเดียมีมูลค่าประมาณ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งของมูลค่าส่งออกสินค้าของอินเดียไปยังประเทศอิหร่าน
          สำหรับภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาปรับลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 หลังจากที่ขยับสูงขึ้น
4 สัปดาห์ติดต่อกันในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนค่าลง ประกอบกับคำสั่งซื้อข้าวในช่วงนี้ค่อนข้างชะลอตัว  โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 364-368 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาลดลงจากตันละ 366-370 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือลดลง 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงประมาณร้อยละ 1
ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลดี คือ ช่วยเพิ่มส่วนต่างของราคาให้แก่ผู้ส่งออก
          นอกจากนี้ ผู้ส่งออกยังได้รับผลดีจากนโยบายของรัฐบาลที่ได้ออกมาตรการกระตุ้นการส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่
บาสมาติ โดยการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ส่งออกในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าส่งออก ทำให้ผู้ส่งออกสามารถปรับลดราคา ส่งออกลงได้เพื่อดึงความสนใจของผู้ซื้อข้าวจากต่างประเทศมากขึ้น หลังจากที่ในปีนี้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจาก นโยบายปรับขึ้นราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำของรัฐบาล ทำให้ผู้ส่งออกต้องหาซื้อข้าวในราคาที่แพงขึ้นเพื่อที่จะส่งออก
ประกอบกับประเทศบังคลาเทศลดการนำเข้าข้าวในปีนี้เนื่องจากผลผลิตข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น
          กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture) รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูหนาว หรือ Rabi rice (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) ในปีการผลิต 2561/62 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 4.74 ล้านไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2561) ลดลงประมาณร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับ 7.45 ล้านไร่ ในช่วงเดียวกันของปี 2560/61 เนื่องจาก ในปีนี้มีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูมรสุม (มิถุนายน-กันยายน) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
          ทั้งนี้ รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายผลผลิตข้าวในปีการผลิต 2561/62 (กรกฎาคม-มิถุนายน) ทั้งในฤดู Kharif และ Rabi รวมกันไว้ที่ประมาณ 113 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 111 ล้านตัน ในปี 2560/61 ขณะที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าผลผลิตธัญพืชทั้งหมดไว้ที่ประมาณ 283.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ตั้งไว้ที่ 273 ล้านตัน
          ขณะที่องค์การอาหารแห่งชาติ (The Food Corporation of India; FCI) และหน่วยงานของรัฐบาลสามารถจัดหาข้าวในฤดู Kharif ปีการตลาด 2561/62 (1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562) ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน ได้แล้วประมาณ 18.75 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่จัดหาได้จากแค้วน Punjab และ Haryana ซึ่งจัดหาได้แล้วประมาณ 11.318 และ 3.91 ล้านตัน ตามลำดับ โดยในปีการตลาด 2561/62 นี้ รัฐบาลตั้งเป้าจัดหาข้าวจำนวน 37 ล้านตัน ลดลงจากปีการตลาด 2560/61 (1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561) ที่จัดหาได้ประมาณ 38.184 ล้านตัน (มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 37.5 ล้านตัน)
          ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับราคารับซื้อข้าวขั้นต่ำ (the minimum support price; MSP) ปีการตลาด 2561/62  สำหรับข้าวเกรดธรรมดา (common-grade paddy) ขึ้นมาที่ 1,750 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 254 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 13 จากปีที่ผ่านมาที่ 1,550 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม) และ
สำหรับข้าวเกรดดี (Grade A paddy) ปรับขึ้นมาที่ 1,770 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม หรือประมาณ 257 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ต่อตัน (เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 11 จากปีที่ผ่านมาที่ 1,590 รูปีต่อ 100 กิโลกรัม)
          กระทรวงทรัพยากรน้ำ (the Ministry of Water Resources) รายงานว่า ปริมาณน้ำที่กักเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำหลักทั่วประเทศ 91 แห่ง ณ วันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำกักเก็บประมาณ 94.99 พันล้านลูกบาศก์เมตร ลดลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับจำนวน 96.97 พันล้านลูกบาศก์เมตร ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงประมาณร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับจำนวน 98.82 พันล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า โดยปริมาณน้ำที่กักเก็บในขณะนี้
คิดเป็นประมาณร้อยละ 59 ของความจุของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งสามารถกักเก็บน้ำได้เต็มที่ประมาณ 161.993 พันล้านลูกบาศก์เมตร
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.70 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.17 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.02
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.83
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 315.75 ดอลลาร์สหรัฐ (10,269 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 320.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,430 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 161 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2
สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 374.96 เซนต์ (4,863 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 371.60 เซนต์ (4,826 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 37 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต

ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2561
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.46 ล้านตัน (ร้อยละ 8.22 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้ลานมันเส้นเปิดดำเนินการไม่มาก เนื่องจากเมื่อผลิตเป็นมันเส้นแล้วไม่คุ้มกับการลงทุน ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.34 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.43  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.37 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 5.44 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.29  
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.30 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.35 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.79
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 14.05 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.14
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 210 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,830 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 213 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,937 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.41
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,895 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 463 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,080 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.08
 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.397   
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.450 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.247 ล้านตัน ของเดือนพฤศจิกายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 3.66  และร้อยละ 4.05 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.37 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.28 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.95                                            
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.50 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 15.88 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.90
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,033 ริงกิตต่อตัน (486.01 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และปริมาณซื้อขายอยู่ที่ 31,625 ตัน 
ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาต่ำสุดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ระดับ 1,940 ริงกิตต่อตัน ขณะเดียวกันราคาน้ำมันพืชถั่วเหลืองซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบในเดือนมกราคม 2562 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 7 เนื่องจากความต้องการนำเข้าถั่วเหลืองของจีนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2,056 ริงกิตต่อตัน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,925.62 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.32 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,843.45 ดอลลาร์มาเลเซีย  (14.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.46    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 482.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 474.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (15.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.58  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
           ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 1,964,166 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 136,505 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 126,618 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 9,887 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 10.88 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 69.50 กก.ต่อตันอ้อย

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานปริมาณการส่งออกน้ำตาลของบราซิล
          กระทรวงการค้า รายงานปริมาณการส่งออกน้ำตาลของบราซิลเดือนพฤศจิกายน 2561 มีจำนวน 1.93 ล้านตัน (มูลค่าน้ำตาลทรายดิบ) ลดลงจาก 1.95 ล้านตัน ในเดือนก่อน และต่ำกว่าระดับ 2.24 ล้านตัน ในเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนับเป็นเดือนที่อยู่ในระดับต่ำสุดของเดือนตั้งแต่ปี 2550


 

 
ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.45 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 9.34
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 913.64 เซนต์ (11.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 906.92 เซนต์ (10.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.74
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.19 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 311.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 28.63 เซนต์ (20.79 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 28.36 เซนต์ (20.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95


 

 
ยางพารา
 
 

 
สับปะรด


 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.17 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 21.83 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.02
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.45 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.16
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 22.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.10
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 23.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 7.53
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 15.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.92
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.97
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 828.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 819.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.68 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.26 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 735.50 ดอลลาร์สหรัฐ (23.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 726.75 ดอลลาร์สหรัฐ (23.67 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.25 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 797.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 742.25 ดอลลาร์สหรัฐ (24.17 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.76 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 519.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 495.25 ดอลลาร์สหรัฐ (16.13 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.75 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 822.25 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 812.75 ดอลลาร์สหรัฐ (26.47 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.58
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.30 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.59
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 79.90 เซนต์(กิโลกรัมละ 58.04 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 79.78 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.02 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,688 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,678 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,319 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,306 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.02
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 837 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 


ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่เย็นลงเอื้ออำนวยให้สุกรเจริญเติบโตดี ส่งผลให้ปริมาณสุกรออกสู่ตลาดมาก  ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  59.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.07 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.08 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.78บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 59.46 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,700 (บวกลบ 60 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.22บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 30.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 32.87 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 38.83 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา   เนื่องจากเข้าสู่ช่วงเทศกาลต่างๆ ทั้งวันคริสต์มาส และวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่มีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว  
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  264 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 263 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 251 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 281 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 325 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 322 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.93 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 336 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 365 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.39 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.05 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.45 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.28 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.01 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.71  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.36 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 ธันวาคม 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาสูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 16.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.46 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.67 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.39 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.96 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7 – 13 ธันวาคม 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.71 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.29 บาท